สุดสะเทือนใจ เผยจุดจบแสนเศร้า ดงตาล พะยูนเกาะหลังเต่า ก่อนเกยตื้นดับ อ.ธรณ์ เผยหากไม่เร่งแก้สถานการณ์ อาจจบบริบูรณ์ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึง “ดงตาล” พะยูนเกาะหลังเต่าที่เกยตื้นตายก่อนหน้านี้ โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่าโอกาสที่ดงตาลรอดมีน้อย และสถานการณ์พยูนในขณะนี้วิกฤติมาก
ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องเศร้า จึงต้องทำใจก่อนเขียน
ลูกพะยูน “ดงตาล” จากไปแล้วครับ เธอคือตัวที่เจอกับคุณลุงเต่าที่ผมเพิ่งเขียนเรื่องไปเมื่อ 3-4 วันก่อน ดงตาลเป็นลูกพะยูนเพศผู้ อาศัยอยู่ในอ่าวสัตหีบกับแม่เมื่อปีก่อน แม่ลูกอยู่ด้วยกันแสนสุข แต่มันไม่ยืนยาว เมื่อต้นเดือนธันวาคม แม่พะยูนตาย เกยตื้นที่สัตหีบ หลายคนเชื่อว่าเป็นแม่ของดงตาล เพราะหลังจากนั้นมีรายงานว่าพบลูกพะยูนอยู่เพียงลำพังในอ่าวสัตหีบ
มีข่าวเป็นระยะ เช่น เจอพะยูนอยู่กับเต่า จนท้ายสุด มีการสำรวจร่วมกันระหว่างทหารเรือกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องพะยูน ทำให้เกิดภาพและเรื่องราวที่เขียนให้เพื่อนธรณ์อ่าน ตอนที่ผมเขียน ผมก็พอทราบอยู่ว่าโอกาสที่ดงตาลจะรอดมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ดงตาลยาวแค่เมตรเดียว ยังไม่น่าจะหย่านม อยู่เพียงลำพัง ธรรมชาติโหดร้าย แต่อาจไม่โหดเท่ามนุษย์ที่ “อาจ” เป็นสาเหตุทำให้แม่ดงตาลจากไป จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบ และจุดจบไม่ใช่แค่ดงตาล เรื่องเศร้ายังอาจไม่ถึงคำว่าจบบริบูรณ์
รายงานของกรมทะเลในพ.ศ.2565 ที่สัตหีบมีพะยูน 5 ตัว เดือนกันยายน ปีก่อน ตาย 1 ตัว เดือนธันวาคม ปีก่อน ตาย 1 ตัว (อาจเป็นแม่ดงตาล) เดือนกุมภาพันธ์ ดงตาลตาย แม้ข้อมูลจากกรมทะเลบางส่วนเป็นการประเมิน อาจไม่ใช่ 5 เป๊ะๆ แต่ก็คงคลาดเคลื่อนไม่มาก ในเวลา 6 เดือน พะยูนตาย 3 ตัว คงไม่ใช่เรื่องดีเลย
สถานการณ์พะยูนที่สัตหีบกำลังวิกฤตถึงขีดสุด และหากเรายังไม่ทำอะไร คำว่าจบบริบูรณ์อาจมาถึงอย่างแท้จริง…
หมายเหตุ – ตอนนี้คณะประมง มก. กำลังทำแผนโลมา 14สุดท้ายที่สงขลา พะยูนตรัง โลมาสีชมพูดอนสัก/ขนอม ร่วมกับกรมทะเลและหลายหน่วยงาน พอเสร็จจากนี้อาจมีส่วนนำไปประยุกต์ใช้ได้ครับ”
ดร.ปริญญา ร่วมไว้อาลัย วิศวกรรมควัน หลังปลิดชีพตนเองเพราะรับการทุจริตไม่ได้ ดร.ปริญญาแนะเลิกเรียกรับเงินจากผู้รับเหมา เริ่มบัดนี้ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กแสดงความไว้อาลัยกรณี ภาณุเมศวร์ วาสโสหา วิศวกรรมควัน หลังจากไม่สามารถทนได้กับการทุจริตคอร์รัปชันและการเรียกรับเงินค่าใช้จ่าย โดยการตายของวิศวกรตงฉินคนนี้ได้นำไปสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากนั้น
หมอหมู แสดงความเห็นปม เด็กอนุบาล 2 ล้ม คาดสาเหตุเสียชีวิต
หมอหมู แสดงความเห็นปม เด็กอนุบาล 2 ล้ม คาดสาเหตุเสียชีวิตมาจากภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ควรรีบส่งโรงพยาบาลทันทีหากล้ม หมอหมู วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มศว ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นกรณีเด็กอนุบาล 2 ล้มภายในโรงเรียนเอกชน ตั้งอยู่ในย่าน เขตภาษีเจริญ กทม. ก่อนที่กลับบ้านมาในวันนั้นจะเสียชีวิต พอขอดูกล้องก็พบว่ากล้องวงจรเสียงจนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปก่อนหน้านี้
หมอหมู แสดงความเห็นว่า “จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ในกรณีที่เด็กหกล้มศีรษะกระแทกพื้นแล้วเกิดภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก พบได้บ่อยพอสมควร และบางรายก็เสียชีวิต จึงอยากฝากถึงผู้ที่ต้องดูแลเด็กต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากพบเห็นกรณีดังกล่าว ควรรีบส่งตรวจรักษาที่ รพ. ไม่ควรรอจนกว่าจะเกิดอาการรุนแรง ซึ่งอาจไม่ทันเวลานะครับ
Epidural hematoma (ภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก) เป็นการบาดเจ็บของสมองชนิดหนึ่ง โดยเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณเยื่อหุ้มสมอง หรือหลอดเลือดระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา ส่งผลให้เนื้อสมองมีการถูกกดเบียด จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ พูดไม่ชัด หมดสติ และในรายที่รุนแรงจะถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาไม่นาน
ในประเทศไทย มีรายงานวิจัยพบภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกได้ประมาณร้อยละ 2-3 ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ ภาวะนี้พบได้ในทุกอายุ โดยพบว่าในเด็ก (อายุมากกว่า 2 ปี) มีโอกาสเกิดได้มากกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อดูราแยกออกจากผิวด้านในของกะโหลกได้ง่ายกว่า
การเกิดหลอดเลือดฉีกขาดจนทำให้เกิดก้อนเลือดมีสาเหตุจากการผิดรูปของกะโหลกศีรษะในขณะที่มีแรงมากระทบ (สาเหตุหลักจากการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ทั้งอุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง เด็กหกล้ม จากการเล่นกีฬา หรือถูกทำร้ายร่างกายที่บริเวณศีรษะ) ทำให้หลอดเลือดที่แตกแขนงไปเลี้ยงกะโหลกศีรษะถูกดึงรั้งจนฉีกขาด
การที่เลือดออกจากหลอดเลือดจะทำให้มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยอาศัยแรงดันในหลอดเลือดแดงและก้อนเลือดจะเซาะหลอดเลือดออกจากกะโหลกศีรษะ จึงทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกะโหลกศีรษะเพิ่มเกิดจุดเลือดออกมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาต่อมา
ตำแหน่งที่เกิดบ่อยคือ Temporal bone (ขมับ) ซึ่งมีความบอบบางเป็นเหตุให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
อัตราการตายของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก พบประมาณร้อยละ 8″
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บสล็อตแท้ สล็อตเว็บตรง